Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ขบวนการงาบงบ 950 ล้าน ซ่อมบำรุงเครื่องบินตำรวจ

ข่าวองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ/ กรณี ฮ.ตำรวจตก/23062568 องค์กรต้านโกงฯเปิดข้อมูลวงใน “ฮ.ตำรวจ” ตกสังเวยคอร์รัปชัน ขบวนการงาบงบซ่อมฯ 950 ลบ. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดข้อมูลวงในฟันธง “กรณีเฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก 2 ลำ” ในเวลาไล่เลี่ยกันช่วง เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมานั้น ไม่ใช่เรื่องดวง แต่เป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดจากคอร์รัปชันที่แลกด้วยชีวิตของตำรวจชั้นผู้น้อย ขบวนการงาบงบซ่อมบำรุงเครื่องบินตำรวจปีละ 950 ล้านบาทใครได้ประโยชน์ ใครก่อปัญหาการจัดซื้อที่ไม่ได้มาตรฐานและการซ่อม/เปลี่ยนอะไหล่ทิพย์ก่อนนำมาสู่หายนะ ขณะที่ภาคประชาชน “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย” ชวนสังคมจับตาคดีนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : เพจเฟสบุ๊ค องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน อ่านเพิ่มเติม

Read More

คอร์รัปชัน – มักง่าย: ต้นเหตุอาคารราชการทิ้งร้าง สร้างไม่เสร็จ

ACT ชวนจับตาเฝ้าระวัง “อบจ.-เทศบาล” หวั่นลุยทำโครงการ“ทิ้งร้างสร้างไม่เสร็จ” อีกช่องทางคอร์รัปชันหวังถอนทุนการเมือง ACT ชวนจับตาเฝ้าระวัง “อบจ.-เทศบาล” หวั่นลุยทำโครงการ“ทิ้งร้างสร้างไม่เสร็จ” อีกช่องทางคอร์รัปชันหวังถอนทุนการเมือง ACT ชวนจับตาเฝ้าระวัง “อบจ.-เทศบาล” หวั่นลุยทำโครงการ“ทิ้งร้างสร้างไม่เสร็จ”อีกช่องทางคอร์รัปชันหวังถอนทุนการเมือง หวั่นลุยทำโครงการ“ทิ้งร้างสร้างไม่เสร็จ”อีกช่องทางคอร์รัปชันหวังถอนทุนการเมือง อ้างตามผลวิจัยม.หอการค้าไทยที่เคยคาดการณ์ว่าจะมีเงินสะพัดจากการเลือกตั้ง “อบจ.-เทศบาล” โดยเฉลี่ย 2-4 หมื่นล้านบาท  องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ชวนประชาชนเฝ้าระวัง “คอร์รัปชัน” ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วอร์มอัพรับมือกันแต่เนิ่นๆ ทั้งอบจ.และเทศบาลรวมกันกว่า 2,500 แห่งทั่วประเทศซึ่งกำลังเข้าสู่ช่วงบริหารงาน หวังจะเห็นโครงการรัฐทิ้งร้างสร้างไม่เสร็จผลาญเงินภาษีประชาชนลดลง ขณะที่สำนักตรวจราชการคอยตรวจสอบติดตามผลอย่างเข้มข้นขึ้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : เพจเฟสบุ๊ค องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน อ่านเพิ่มเติม

Read More

สังคมไทยได้เห็นอะไร หลังตึก สตง. ถล่ม

ข่าวองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)_กรณีตึกสตง.ถล่ม_ทวงถามนายกฯหวั่นสาวไม่ถึงตัว ACT จี้รัฐบาลเอาจริงครบ 50 วันตึกสตง.ถล่มหวั่นกระบวนการทำคดีสาวไม่ถึงตัวผู้บงการ      ผ่านมา 50 วันแล้วสำหรับกรณีตึกสตง.ถล่ม องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จี้รัฐบาลเร่งเปิดเผยข้อมูลการสอบสวน เปิดโปงผู้มีอำนาจที่อยู่เบื้องหลัง และเร่งดำเนินคดีคนผิด แม้จะมีการจับผู้ต้องหา 17 ราย แต่หวั่นกระบวนการทำคดีจะสาวไม่ถึงตัวผู้บงการ จึงเรียกร้องนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตัวแทนประสานงานภาครัฐรวบรวมข้อมูลและเปิดเผยการสอบสวนต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส      นายมานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เปิดเผยว่า ผ่านมาแล้วกว่า 50 วันนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พังถล่ม เมื่อ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา นี่ไม่ใช่แค่โศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตและสร้างบาดแผลทางกายและใจแก่ประชาชนจำนวนมาก แต่ยังเป็นการทำลายทรัพย์สิน มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่สำคัญที่สุดได้พังทลายความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานความปลอดภัยและความโปร่งใสในโครงการภาครัฐทั่วประเทศ แม้ขณะนี้จะมีการจับผู้ต้องหาถึง 17 ราย แต่สิ่งที่สังคมยังคงกังวล คือกระบวนการสอบสวนและจัดทำสำนวนคดีที่อาจไม่รัดกุมเพียงพอ อันอาจนำไปสู่การที่ผู้กระทำผิดบางราย หรือแม้แต่ทั้งหมด หลุดพ้นจากความรับผิด เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต     “การเอาผิดต้องไม่หยุดเพียงแค่ระดับผู้รับเหมา…

Read More

ตึก สตง. ถล่ม: ภาพสะท้อนวงจรคอร์รัปชันในงานก่อสร้างภาครัฐ

ตึก สตง. ถล่ม: ภาพสะท้อนวงจรคอร์รัปชันในงานก่อสร้างภาครัฐ งานก่อสร้างภาครัฐมูลค่า 7.8 แสนล้านบาทต่อปี[1] ประเมินว่าถูกคอร์รัปชันไปราว 2 แสนล้านบาท ผ่านการล็อกสเปก ฮั้วประมูล ลดงาน ลดคุณภาพวัสดุและอีกสารพัดกลโกง ทั้ง 2.3 แสนโครงการ[2] ที่รัฐลงทุนไปนั้นล้วนตกอยู่ในวงจรคอร์รัปชันแทบไม่ต่างกัน บทความนี้จะอธิบายถึง “ตัวละคร” ที่เกาะกินวงการก่อสร้างภาครัฐ จนหลายโครงการสร้างไม่เสร็จ หรือปล่อยทิ้งร้าง ไม่ต่างจากอาคาร สตง. ที่ถล่มลงมา ดังนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : เว็บไซต์องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) อ่านเพิ่มเติม

Read More

เช็กความเตรียมพร้อมก่อนเข้าคูหา เลือกกาคนที่ใช่แบบ ‘มั่นใจ ไม่กลัว พีเรียด’

Step 1: ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง เราขอชวนคุณไปใช้สิทธิ หากคุณมีคุณสมบัติดังนี้    - มีสัญชาติไทย หากแปลงสัญชาติต้องถือสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี    - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง    - มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี Step 2: เตรียมหลักฐานเพื่อแสดงตัวตน คุณต้องใช้บัตรประชาชน (สามารถใช้บัตรที่หมดอายุแล้ว) หรือหลักฐานอื่นของทางราชการหรือหน่วยงานรัฐออกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง เพื่อใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง Step 3: ตรวจสอบรายชื่อก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน ที่    - ศาลากลางจังหวัด    - ที่ว่าการอำเภอ    - อบจ.    - เอกสารแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ส่งมายัง    -…

Read More

นายก อบจ. แบบไหน ที่คนไทย (เหมือนจะ) ชอบ?

นายก อบจ. แบบไหน ที่คนไทย (เหมือนจะ) ชอบ? หลังจากที่ผ่านพ้นการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 หนึ่งในการเลือกตั้งใหญ่ที่พรรคการเมืองต่างขับเคี่ยวหาเสียงและเสนอนโยบายอย่างดุเดือดเลือดพล่านผ่านทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ในการแย่งชิงคะแนนเสียงและที่นั่งในสภาให้ได้มากที่สุดเพื่อจัดตั้งรัฐบาล ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ เตรียมตัวพบการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่ซึ่งสำคัญไม่แพ้กับการเลือกตั้งทั่วไป นั่นคือการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ’การเลือกตั้ง อบจ.’ หนึ่งในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่หาคนเข้ามาพัฒนาและกำหนดนโยบายภายในจังหวัด โดยประชาชนในจังหวัดจะเป็นผู้เลือก นายก อบจ. และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ก่อนออกไปเลือกตั้ง เรามารู้จักกันก่อนว่า ‘นายก อบจ.’ คือใคร มาจากไหน และมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง ? อ่านเพิ่มเติม

Read More

เลือกตั้ง อบจ. สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องออกไปใช้สิทธิ ?

รู้จัก อบจ. ชื่อนี้คุ้นหู แต่อยากรู้ว่าทำงานอะไรให้กับประชาชนบ้าง? ‘องค์การบริหารส่วนจังหวัด’ หรือ อบจ. มีหน้าที่สำคัญในการบริหารพัฒนาท้องถิ่น ผ่านการใช้งบประมาณเพื่อมอบบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในจังหวัด อบจ. ใช้อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ในการดำเนินงานภายในเขตจังหวัดและจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ หน้าที่ของ อบจ. จึงเริ่มต้นจากการ ‘ตราข้อบัญญัติการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด’ ’จัดทำแผนพัฒนาตามระเบียบที่ ครม. กำหนด’ รวมถึง ‘แบ่งสรรเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ’ อ่านเพิ่มเติม

Read More

เปิดโปง 10 ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง อบจ. ที่สะเทือนงบประมาณท้องถิ่นกว่า 377 ล้านบาท

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT เปิดเผยข้อมูลกรณี "10 ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง" ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547–2567) พบการทุจริตหลายรูปแบบ เช่น การจัดซื้อถุงยังชีพมิชอบ การจ้างเหมาขุดลอกลำน้ำ และการใช้งบประมาณอุดหนุนวัดที่ไม่โปร่งใส รวมความเสียหายกว่า 377 ล้านบาท แม้จะมีการร้องเรียนเรื่องการทุจริตใน อบจ. มากถึง 827 เรื่องในปี 2566 เพียงปีเดียว แต่จำนวนคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกลับมีน้อย และหลายคดีก็เงียบหาย สะท้อนถึงปัญหาในกระบวนการตรวจสอบและลงโทษ รวมถึงการขาดการติดตามอย่างจริงจัง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : เว็บไซต์องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) อ่านเพิ่มเติม

Read More